วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ประโยชน์และความสำคัญ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักแนวคิดที่สอนให้เราไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต โดยจะทำอะไรก็ต้องคิดดูว่าพอกับอัตภาพของตัวเองหรือไม่ หรือพูดง่ายๆคือ เกินกำลังที่ตัวเองมีอยู่หรือไม่ และในขณะเดียวกันก็ต้องทำอย่างเต็มกำลังด้วย ซึ่งเรื่องนี้เรียกว่าเป็นการทำอะไรแต่พอประมาณอย่างมีเหตุมีผล นอกจากนี้แล้วหลักเศรษฐกิจพอเพียงยังสอนให้เราคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา วันนี้เราแข็งแรงอยู่ก็จริง แต่พรุ่งนี้เราอาจจะล้มเจ็บ หรือสิ่งแวดล้อมอาจจะเปลี่ยนแปลงไป เกิดฝนแล้ง น้ำท่วมเหล่านี้ เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองเอาไว้ เช่น การออม การรักษาสุขภาพ การทำความดี การช่วยเหลือผู้อื่น การเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อสามารถรับกับความผันผวนต่างๆได้ ถ้าเราเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงดังที่กล่าวไปแล้วนี้ไปใช้ ก็จะทำให้เรามีความสุข ชีวิตมีความสมดุล อยู่อย่างพอมีพอกิน มีเพื่อนฝูงและทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม ตลอดจนมีสติปัญญาที่จะพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไ

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

การ พัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมา เศรษฐกิจพอเพียง

ตามนโยบาย ผู้บัญชาการทหารอากาศ พ.ศ. 2550 ให้หน่วยงานนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) มาใช้ในการบริหารราชการและการปฏิบัติงานของกองทัพอากาศ ให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างจริงจัง และเป็นไปอย่างรอบคอบทุกด้านควบคู่ไปกับแผนการปฏิบัติราชการ ซึ่งสามารถติดตามและประเมินผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะอนุกรรมการ โดยมี พล.อ.อ.ไศลดิษฐ์ สันตกุล เป็นประธานกรรมการ ตามคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 601 ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2543

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี